จิตวิทยาการแนะแนว
Psychology for Teachers

ความรู้ทางจิตวิทยา เป็นองค์ความรู้ที่จำเป็นสำหรับนักศึกษาที่เรียนทางวิชาชีพครู
โดยถูกกำหนดให้อยู่ในหัวข้อมาตราฐานด้านความรู้ทางวิชาชีพ นักศึกษาวิชาชีพครูจะต้องมีความรู้ทางจิตวิทยา
กลุ่มจิตวิทยาและการแนะแนวเปิดสอน 2 วิชาดังต่อไปนี้
1.จิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychology)
ความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยา พัฒนาการและทฤษฎีพัฒนาการของมนุษย์ ความแตกต่างระหว่างบุคคล การเรียนรู้และทฤษฎีการเรียนรู้ การปรับพฤติกรรมผู้เรียน และนวัตกรรมทางจิตวิทยาเพื่อการจัดการเรียนการสอน
ประยุกต์ใช้หลักการ แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับจิตวิทยาพื้นฐานและจิตวิทยาพัฒนาการของมนุษย์ การประยุกต์ใช้จิตวิทยาเพื่อการปรับพฤติกรรมผู้เรียน ออกแบบการจัดการเรียนรู้ ตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน โดยการจัดเนื้อหา เลือกวิธีสอน และวิธีวัด การประเมินผลที่ช่วยผู้เรียนสามารถพัฒนาไปตามศักยภาพ การจัดพื้นที่การเรียนรู้ ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ และส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
2.จิตวิทยาการแนะแนว (Psychology for Teachers)
ความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยาการแนะแนว ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและการจัดบริการแนะแนวในสถานศึกษา เทคนิคและเครื่องมือทางการแนะแนวในการเก็บรวบรวมข้อมูลนักเรียน การศึกษารายกรณี การให้การปรึกษาเพื่อช่วยเหลือและพัฒนาผู้เรียน และการใช้กระบวนการแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพ
ประยุกต์ใช้ความรู้ทางการแนะแนวไปใช้ในสถานศึกษา ปฏิบัติการเพื่อช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบโดยทำการศึกษารายกรณี เลือกจัดบริการแนะแนวที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ปกครองและชุมชน
กลุ่มวิชาจิตวิทยาและการแนะแนว
ความรู้ทางจิตวิทยา เป็นองค์ความรู้ที่จำเป็นสำหรับนักศึกษาที่เรียนทางวิชาชีพครู โดยถูกกำหนดให้อยู่ในหัวข้อมาตราฐานด้านความรู้ทางวิชาชีพ นักศึกษาวิชาชีพครูจะต้องมีความรู้ทางจิตวิทยาดังต่อไปนี้
ด้านสาระความรู้
1. จิตวิทยาพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการมนุษย์
2. จิตวิทยาการศึกษา
3. จิตวิทยาการแนะแนวและให้คำปรึกษา
และจะต้องมีสมรรถนะการเรียนรู้ 3 ข้อดังนี้
1. เข้าใจธรรมชาติของผู้เรียน
2. สามารถช่วยเหลือผู้เรียนให้เรียนรู้และพัฒนาได้ตามศักยภาพของตน
3. สามารถให้คำแนะนำช่วยเหลือผู้เรียนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
4. สามารถส่งเสริมความถนัดและความสนใจของผู้เรียน